Posted by : benjapa วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เมื่อความไม่สงบในยูเครนกลายเป็นปัญหาระดับโลก






ประเด็นร้อนในต่างประเทศ ท่ามกลางข่าวการเมืองของไทยในช่วงที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้นประเด็นเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองประเทศยูเครน ซึ่งลากยาวมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันกับไทย ขณะที่ผลกระทบจากปัญหาทางการเมืองของไทยยังคงจำกัดอยู่ภายในประเทศ แต่สำหรับยูเครน ปัญหาดังกล่าวดูเหมือนจะกลายเป็นปัญหาระดับโลกไปแล้ว เมื่อมีประเทศมหาอำนาจของโลก อย่างสหรัฐฯ สหภาพยุโรป (EU) และรัสเซียเข้ามาเกี่ยวข้อง จนทำให้เกิดความกังวลในตลาดการเงิน และส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกตั้งแต่เปิดเดือนมีนาคมมาต่างก็ปรับตัวลงกันถ้วนหน้า
ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องความขัดแย้งในยูเครน ได้ลุกลามขึ้นหลังจากรัฐบาลได้ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมของประชาชน ส่งผลให้ประธานาธิบดียูเครนต้องหลบหนีไปพึ่งพันธมิตรอย่างรัสเซีย ขณะที่รัสเซียเอง ก็ได้ทำการส่งกำลังทหารเข้าไปยังเขตปกครองอิสระไครเมียของยูเครนเพื่อเข้ายึดสถานที่ราชการ และทำให้ขั้วอำนาจตะวันตก ซึ่งต้องการถ่วงดุลอำนาจรัสเซียอย่างสหรัฐฯและ EU แสดงความไม่พอใจ และต้องการให้มีการถอนกำลังทหารของรัสเซียออก ซึ่งอาจจะส่งผลไปถึงการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย หรือลุกลามเป็นสงครามขึ้นได้

จากประเด็นที่ลุกลาม และมีการดึงชาติอื่นๆ ทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และรัสเซียเข้ามาเกี่ยวข้องนี้เอง ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลก เกิดความปั่นป่วนอย่างหนักหลังเปิดเดือนมีนาคมมา ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตลาดหุ้นเอเชีย ที่ต่างก็ปรับตัวลงกว่า 1% โดยเฉพาะตลาดหุ้นยุโรป ซึ่งดูจะได้รับผลกระทบเต็มๆ เพราะปรับตัวลงไปกว่า 3% เนื่องจากยุโรปเป็นภูมิภาคที่มีความใกล้ชิดทางด้านเศรษฐกิจกับรัสเซียเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านพลังงาน เนื่องจากยุโรปมีการพึ่งพาพลังงานด้านน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียเป็นหลัก โดยส่วนหนึ่ง มีการขนส่งผ่านทางยูเครน การคว่ำบาตรรัสเซีย และความไม่สงบในยูเครนที่อาจจะทำให้รัสเซียมีอิทธิพลเหนือยูเครนจะส่งผลในเชิงลบต่อเศรษฐกิจของบริษัทยุโรป และต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ตลาดหุ้นยุโรปดูจะได้รับผลกระทบมากกว่าตลาดอื่นๆ
 

 
ทั้งนี้ แม้ยากที่จะคาดเดาถึงผลลัพธ์สุดท้ายที่จะเกิดขึ้น ว่าจะลุกลามไปจนถึงขนาดไหน แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ เชื่อกันว่า ปัญหาในยูเครน น่าจะกระทบต่อตลาดในระยะสั้น เนื่องจากปัญหาดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศใด ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ สหภาพยุโรป หรือแม้กระทั่งรัสเซียเอง ซึ่งท้ายที่สุด สหรัฐฯ รัสเซีย และสหภาพยุโรป น่าจะหันมาเจรจาเพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหา มากกว่าจะมุ่งเน้นตอบโต้กันด้วยมาตรการคว่ำบาตร หรือมาตรการทางการทหาร ผลกระทบในเชิงลบต่อตลาด จึงน่าจะจบลงได้ในระยะสั้น ดังจะเห็นได้จากสถานการณ์ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม หลังจากรัสเซียมีมติให้ถอนกำลังทหารออกมาจากชายแดนยูเครน ก็ทำให้ตลาดหุ้นคลายความกังวลและเด้งกลับมาได้ อย่างไรก็ดี ทางรัสเซียเองยังคงกำลังทหารไว้ในบริเวณเขตปกครองพิเศษไครเมียอยู่ ซึ่งก็จะยังคงกดดันสถานการณ์การลงทุนอยู่เป็นระยะๆ ดังนั้น ในช่วงที่ตลาดหุ้นที่ปรับตัวลงมา จึงอาจจะเป็นจังหวะเข้าทยอยสะสมการลงทุนในหุ้นเพิ่มเติมได้ โดยเฉพาะหุ้นในภูมิภาคยุโรปที่ดูจะปรับตัวลงแรงกว่าภูมิภาคอื่น
 

 
ด้วยปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจของยุโรปเอง ซึ่งได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้วในปีที่ผ่านมา และกำลังเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่บริษัทจดทะเบียนยุโรปเองยังมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และธนาคารกลางยังแสดงจุดยืนที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงินหากจำเป็น ล้วนแต่ส่งสัญญาณปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นยุโรป ขณะที่ระดับราคาเอง แม้จะปรับขึ้นมาพอสมควรในช่วงปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าอดีต โดยอัตราส่วน Forward P/E ของดัชนี MSCI Europe ในเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ประมาณ 14 เท่า เทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ประมาณ 16 เท่า (Bloomberg มีนาคม 2557) ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีแนวโน้มที่สดใสจากเศรษฐกิจ แต่ระดับราคาปัจจุบันได้ปรับขึ้นมาค่อนข้างเยอะตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยยังไม่มีการปรับฐานลงมาอย่างชัดเจน จึงควรจะต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่าหากจะเข้าลงทุนในช่วงนี้
สำหรับสินทรัพย์ประเภทสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ ก็ได้รับอานิสงส์จากความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองดังกล่าว ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้น และหันกลับมาถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยอีกครั้ง และผลักดันราคาทองคำขึ้นมาที่เหนือระดับ 1,350 ดอลล่าร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี หากความกังวลในสถานการณ์การเมืองคลี่คลายแล้ว ราคาทองคำน่าจะอ่อนตัวลงมา เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยสนับสนุนในเชิงบวกต่อราคาทองคำ โดยเฉพาะนโยบายการปรับลดเม็ดเงินในมาตรการ QE ของสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลลบต่อทองคำ ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจถือจังหวะที่ราคาปรับขึ้นมาในช่วงนี้ทำการขาย และรอเข้าซื้อเมื่ออ่อนตัว โดยมองการเคลื่อนไหวกรอบราคาทองคำในปีนี้ที่ 1,150 – 1,350 ดอลล่าร์ต่อออนซ์ เช่นเดียวกับน้ำมัน ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าปัญหาความไม่สงบจะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำมัน แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ก็น่าจะอ่อนตัวลงมา จึงยังไม่ใช่จังหวะที่จะเข้าลงทุนในช่วงนี้


 


ทั้งนี้ มุมมองดังกล่าวข้างต้น เป็นมุมมองจากสมมติฐานว่าความรุนแรงในยูเครนจะไม่ลุกลามจนกลายเป็นการคว่ำบาตร หรือสงครามกับรัสเซีย ซึ่งหากท้ายที่สุดสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ตลาดหุ้นก็จะได้รับผลกระทบในเชิงลบมากขึ้น ดังนั้น ผู้ลงทุนที่จะเข้าลงทุนในช่วงนี้ ควรเป็นผู้ที่ยอมรับความผันผวนจากการลงทุนได้ในระดับสูง
 

 
สำหรับกองทุนของ บลจ.กสิกรไทยปัจจุบัน ไม่มีการลงทุนในประเทศยูเครน แต่มีการลงทุนในเงินฝากของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 1 ของรัสเซีย
คือ
Sberbank ในกองทุนตราสารหนี้ที่มีวันครบกำหนด (Fixed Term) บ้างเพียงเล็กน้อย คิดเป็นประมาณ 3% ของตราสารหนี้ในต่างประเทศทั้งหมด ทั้งนี้ ธนาคาร Sberbank มีสัดส่วนสินทรัพย์ในประเทศยูเครนคิดเป็นเพียงแค่ 0.80% ของสินทรัพย์รวมเท่านั้น และฐานะทางการเงินของธนาคารมีความเข็มแข็ง ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทย ได้มีการชะลอการลงทุนในเงินฝากจากธนาคาร Sberbank ออกไปเพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายและมีความชัดเจนมากขึ้น
 
คำเตือน- การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลหนังสือชี้ชวน และคู่มือภาษีก่อนการตัดสินใจลงทุน
- ข้อมูล ณ 5 มีนาคม 2557 โดยนายอาทิตย์ ทองเจริญ และนายธณาพล อิทธินิธิภัค ฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์การลงทุนบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด
 
สาเหตุ
 
1ชาวยูเครนไม่พอใจระบบกินรวบอำนาจ
2ประชาชนต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง มิใช่เพื่อสมาชิกสภาพอียู 
3 ฝ่ายค้านอ่อนแอ
 
ผลกระทบ
 
1 การชุมนุมในประเทศยูเครนมีผลต่อการตลาดในระยะสั้น ทำให้ตลาดหุ้นคลายความกังวลและเด้งกลับมาได้ แต่ประเทศยูโรปมีการปรับตัวลดลงสูงมาก
2ตลาดการเงินทั่วโลก เกิดความปั่นป่วนอย่างหนักหลังเปิดเดือนมีนาคมมา ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตลาดหุ้นเอเชีย ที่ต่างก็ปรับตัวลงกว่า 1% โดยเฉพาะตลาดหุ้นยุโรป ซึ่งดูจะได้รับผลกระทบเต็มๆ เพราะปรับตัวลงไปกว่า 3% เนื่องจากยุโรปเป็นภูมิภาคที่มีความใกล้ชิดทางด้านเศรษฐกิจกับรัสเซียเป็นอย่างมาก
3ทำการส่งกำลังทหารเข้าไปยังเขตปกครองอิสระไครเมียของยูเครนเพื่อเข้ายึดสถานที่ราชการ และทำให้ขั้วอำนาจตะวันตก ซึ่งต้องการถ่วงดุลอำนาจรัสเซียอย่างสหรัฐฯและ EU แสดงความไม่พอใจ และต้องการให้มีการถอนกำลังทหารของรัสเซียออก ซึ่งอาจจะส่งผลไปถึงการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย หรือลุกลามเป็นสงครามขึ้นได้
 
ประเด็นคำถาม
 
1ชาติตะวันออกรู้ดีว่ารัสเชียต้องการอะไร รู้ดีว่ารากปํญหาคืออะไร ทำไมจึงไม่ลงมือแก้ไขให้ตรงจุด
2มีกระแสว่ายูเครนตะวันออกจะทำประชามติขอแยกตัวเช่นกัน ซึ่งอาจเป็นเหตุให้มีกองกำลังไร้สังกัดเข้าควบคุมพื้นที่เหมือนกรณีไครเมียก็เป็นได้
3ประธานาธิบดีโอบามากล่าวต่อประธานาธิบดีปูตินว่า รัสเซียจะต้องถอนทหารออกจากไครเมีย ไม่เช่นนั้น การเจรจาจะไม่มีทางประสบความสำเร็จ ส่วนฝ่ายรัสเซียยืนยันว่าต้องคงกองกำลังไว้ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
 
วิธีเเก้ไข
ข้อเสนอไม่เป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย วิธีเเก้คือหาข้อเสนอที่ทั้งสองฝ่ายรับได้
 
 
ที่มา

{ 6 ความคิดเห็น... read them below or Comment }

- Copyright © ployploy - Hatsune Miku - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -